อุทยานราชภักดิ์

อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์ ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ ของพระมหากษัตริย์ในอดีต 7 พระองค์

อุทยานราชภักดิ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ ของพระมหากษัตริย์ในอดีตทั้ง 7 พระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงให้พระราชทานนามว่า “อุทยานราชภักดิ์” โดยสร้างขึ้นเพื่อการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศ โดยได้สร้างขึ้นภายในพื้นที่กว่า 222 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ

1 . พื้นที่ส่วนแรกจะเป็นที่ตั้ง ของพระบรมราชานุสาวรีย์ ทั้ง 7 พระองค์ ในแต่ละยุคตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ อยู่ในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ โดยพระบรมราชานุสาวรีย์ จัดสร้างในพระอิริยาบถทรงยืน หล่อขึ้นด้วยโลหะสำริด และมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 13.9 เมตร

2 . พื้นที่ส่วนที่ 2 จะเป็นพื้นที่ลานเอนกประสงค์ มีพื้นที่ประมาณ 91 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้ทำพิธีที่สำคัญของทางกองทัพ และไว้สำหรับรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ

3 . พื้นที่ส่วนสุดท้าย จะเป็น อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ โดยมีการรวบรวม พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ที่สำคัญของ พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนพื้นที่ ที่เหลือประมาณ 126 ไร่ จะเป็นพื้นที่โดยรอบและสร้างระบบสาธารณูปโภค สำหรับในการอำนวยความสะดวก

 

พระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 7 พระองค์

ในพื้นที่ของ อุทยานราชภักดิ์ เป็นที่ตั้งของ พระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 7 พระองค์ เรามาดูกันว่า มี พระมหากษัตริย์ พระองค์ใดบ้าง

 

1 . พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ พ่อขุนรามคำแหง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณปี พ.ศ. 1822 – พ.ศ. 1841

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง  และเป็นผู้ที่ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้่น ทำให้ประเทศไทยได้มีการสะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

 

2 . สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ สมเด็จพระนเรศวร

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ พระองค์ดำ เป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2133 – พ.ศ. 2148 สิริรวมการครองราชสมบัติประมาณ 15 ปี

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือ การได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทยไปอย่างกว้างขวาง

 

3 . สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ สมเด็จพระนารายณ์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ ทรงสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับกรุงศรีอยุธยาอย่างมาก ทั้งในด้านการทหารและด้านการต่างประเทศ

โดยด้านการทหาร โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายแห่ง และทางการต่างประเทศ ทรงได้มีการติดต่อการค้ากับทูตประเทศต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา จึงมีช่างต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังทรงรักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติ และรับผลประโยชน์จากวิทยาการและเศรษฐกิจ ที่ชนต่างชาตินำเข้ามา และยังทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอีกด้วย

 

4 . สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสิน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนี้ ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2310 – พ.ศ. 2325

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และได้ทางย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินจากขุนศึกก๊กต่างๆ ให้กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปอย่างกว้างขวาง

 

5 . พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2352

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาเป็นฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

และป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยจากการรุกรานของข้าศึก พร้อมทั้งพื้นฟูวัฒนธรรมไทยที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา และได้ยังทรงเขียน กฎหมายตราสามดวง เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครอบบ้านเมือง

 

6 . พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2411

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือทางได้ทำนุบำรุง วรรณคดี และพุทธศาสนา และเสริมสร้างด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าเป็น ” พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย ” อีกด้วย

 

7 . พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 5 ของราชวงศ์จักรี ขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2453

โดยพระราชกรณีกิจที่สำคัญของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การปฎิรูปการปกครอง และการป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ

นอกจากนี้ยังประกาศให้สามารถนับถือศาสนาได้โดยอิสระในประเทศไทย และยังนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ นั่นคือ การใช้ธนบัตรและเหรียญมาใช้